วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

โรคท้องเสียที่มากับหน้าร้อน (Diarrhea)


โรคท้องเสียที่มากับหน้าร้อน (Diarrhea)

ท้องเสีย หรือท้องร่วงเป็น โรคที่พบได้บ่อย ๆ ในบ้านเรา โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนนี้จะพบว่าทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะมีอาการท้องเสียกันมาก ขึ้น ซึ่งความรุนแรงของท้องเสียนั้นอาจเป็นเพียงเล็กน้อย ที่สามารถหายเองหรือเป็นรุนแรง จนกระทั่งมีอาการขาดน้ำ และเกลือแร่ จนถึงแก่ชีวิตได้
อย่างไรถึงเรียกว่า ท้องเสียปกติลักษณะนิสัยในการถ่ายอุจระของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ทั้งความบ่อย และปริมาณของอุจจาระ แต่ถ้าพบว่ามีการถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นกว่าปกติ หรือมากกว่า วันละ 3 ครั้ง หรืออุจจาระมีปริมาณมากขึ้น หรือผิดไปจากเดิมคือของเหลวหรือน้ำมากกว่าเดิมถือว่าบุคคลนั้นเป็นโรคท้อง เสีย

ท้องเสียมีกี่ชนิดอะไรบ้างท้องเสีย สามารถแบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ คือ

1.ท้องเสียชนิดเฉียบพลัน และท้องเสียชนิดเรื้อรัง ซึ่งทั้ง 2 ชนิดมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้1. ท้องเสียชนิดเฉียบพลัน หมายถึงท้องเสียที่มีระยะฟักตัวสั้น และมีอาการไม่น่านหรือระยะเวลาเป็นวัน ไม่เกิน สัปดาห์ มักมีสาเหตุมาจาก * การได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ที่มีทั้งไวรัส และแบคทีเรีย บิด หมายถึง อาการถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดบ่อยครั้งร่วมกับอาการปวดเบ่งที่ทวารหนักคล้ายถ่ายไม่สุด o บิดชนิดไม่มีตัว มีสาเหตุมาจากเชื่อแบคทีเรียอาการท้องเสียรุนแรงร่วมกับมีไข้ o บิดชนิดมีตัว มีสาเหตุมาจากเชื้อ โปรโตซัวไม่ค่อยมีอาการไข้ ไม่อ่อนเพลีย แต่อุจจาระจะมีกลิ่นเหม็น เหมือน หัวกุ้งเน่า * อาหารเป็นพิษ เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียอยู่ในอาหาร มักพบในผู้ป่วยหลาย ๆ คนซึ่งรับประทานอาหารชนิดเดียว พร้อม ๆ กัน จะมีอาการท้องเสียรุ่นแรงในระยะเวลาอันสั้น หลังจากรับประทานอาหารมีอาเจียนร่วมด้วย * สาเหตุอื่น ๆ เช่น อาการจำพวกนม หรือสารให้ความหวาน ยาบางชนิด สารเคมี หรือโลหะหนักหรือพืชบางชนิด อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสียชนิดเฉียบพลันได้
2. ท้องเสียชนิดเรื้อรัง หมายถึงท้องเสียที่มีอาการติดต่อกันนานเป็น ๆ หาย ๆ มาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เป็นปี มีสาเหตุมาจาก
อารมณ์ เกิดจากการผิดปกติของการทำงานของลำไส้ใหญ่ เวลามีอารมณ์เครียด เช่น เวลาสอบหรือเดินทาง แต่ไม่เป็นอันตราย
ความผิดปกติของเมตาบอลิซึ่ม เช่น ท้องเสียในผู้ป่วยที่มีไธรอยด์ฮอร์โมนสูงกว่าปกติ
การดูดซึมผิดปกติ ก็เป็นสาเหตุของท้องเสียเรื้อรังในผู้ป่วยบางรายได้เช่นกัน


วิธีการรักษาโรคท้องเสีย

1. การให้ของเหลวทดแทน เนื่องจากผู้ป่วยมีการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ จึงจำเป็นต้องให้น้ำและเกลือแร่เข้าไปทดแทน เช่น น้ำเกลือผง (ORS) อาจจะเตรียมน้ำเกลือผสมเอง โดยใช้น้ำสุก 1 ขวด ผสมกับน้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่นครึ่งช้อนชา ให้ผู้ป่วยดื่มแทนน้ำ

2. งดอาหารแข็ง, อาหารรสจัด หรืออาหารที่มีกากมาก ๆ โดยหู้ป่วยรับประทานอาหารเหลว เช่น ซุป หรือข้าวต้มควรหลีกเลี่ยงนม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ 3. การใช้ยาแก้ท้องเสีย เช่น ยาประเภทฝิ่น ยาเหล่นนี้ จะไปหยุดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้อาการท้องเสียบรรเทา ในกรณีที่ท้องเสียเกิดจากการติดเชื้อ ไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้

4. การใช้ยาปฏิชีวนะ จะใช้ในกรณีที่ทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุของท้องเสีย เช่น เชื้อบิดไม่มีตัวการใช้ยาปฏิชีวนะจะช่วยให้ระยะเวลาที่ท้องเสีย และอาการไข้สั้นลงได้ หากท้องเสียเกิดจากอาหารเป็นพิษหรือเชื้อไวรัส ยานี้ไม่ช่วยบรรเทาอาการได้เลย


วิธีป้องการโรคท้องเสีย

1. บริโภคน้ำ และอาหารที่สะอาด และผ่านการปรุงที่ถูกต้อง

2. เตรียมอาหารและเก็บอาหาร เช่น แช่แข็ง ตาก ดอง อย่างถูกต้องตามกรรมวิธี โดยคำนึงถึงความสะอาดเป็นหลัก

3. ในกรณีที่ต้องเดินทางไปต่างถิ่น การใช้ยาปฏิชีวนะป้องกัน จะช่วยลดโอกาส การเกิดท้องเสียในนักเดินทางได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น